กิจกรรม


ขอเชิญร่วมสัมมนาเมืองเก่า “อัตลักษณ์ของเมือง” 
วันเสาร์ที่ 7 และอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00-17.00 น.
สัมมนา on site ไม่เกิน 40 คน ณ ห้อง 501 ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทหมหานคร 
และผ่าน Zoom (50-100 คน) ตามลิงค์
Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/7264989398?pwd=dCtvNDZvUnNUbjUyK1ZVaFlaQmZaQT09


Meeting ID: 726 498 9398
Passcode: 464623
.....

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565 
สัมมนา "เมืองเก่า : การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
ผู้ร่วมสัมมนา: 
* คุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที นายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE)
แนะนำความเป็นมาและบทบาทของสมาคมฯ 

* รศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร 
ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
บรรยายเรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนา เมืองเก่า ย่านชุมชนเก่า และอาคารที่มีคุณค่า, ระบบ และกลไก กฎบัตรประเทศไทย, Statement of Significance (SoS), แผนแม่บทเมืองเก่าของ สผ.

* คุณปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส ประธาน Docomomo Thai 
บรรยายเรื่อง มรดกสถาปัตยกรรม Modern และกรณีศึกษามรดกที่สูญหาย, Case Study เมืองเก่ากรุงเทพ (กรุงรัตนโกสินทร์)

* อาจารย์สุดสัน สุทธิพิศาล
บรรยายเรื่อง เมืองเก่ากับการพัฒนาอย่างยั่งยืน, การใช้ประโยชน์พื้นที่เมืองเก่า เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 

* อาจารย์ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ
บรรยายเรื่อง เมืองเก่ากับการท่องเที่ยว, Case Study Phuket Sandbox

ผู้ดำเนินรายการ: ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร. อุปนายกสมาคมฯ
........

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565
สัมมนา: เมือง: การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างมีเอกภาพ 
เวลา 13.00-15.30 น.
ผู้ร่วมสัมมนา: 
* คุณภานุวัฒน์ ศีลแดนจันทร์มณีเวชช์ ตัวแทนเมืองเก่ากาญจนบุรี
บรรยาย ปัญหาและอุปสรรค : แนวทางการดำเนินงาน

* ดร.รังสิมา กุลพัฒน์ กรรมการสมาคมฯ และตัวแทนเมืองเก่าหงาว ระนอง
บรรยายเรื่อง ปัญหาและอุปสรรค : แนวทางการดำเนินงาน

* ผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ ตัวแทนเมืองเก่าสกลนคร 
บรรยายเรื่อง ปัญหาและอุปสรรค : แนวทางการดำเนินงาน

* ราชิต ระเด่นอาหมัด ตัวแทนเมืองเก่าปัตตานี
บรรยายเรื่อง ปัญหาและอุปสรรค : แนวทางการดำเนินงาน

* ผศ.ดร.ศศิชา สุขกาย ตัวแทนเมืองเก่าเชียงราย 
บรรยายเรื่อง ปัญหาและอุปสรรค : แนวทางการดำเนินงาน

ผู้ดำเนินรายการ: ดร.สุดสันต์ สุทธิพิศาล และคุณพงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์ อุปนายกสมาคมฯ 

บรรยายสรุปประเด็นที่ได้จากการเสวนา โดย ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร
เวลา 15.45-17.00 น.
.....

นอกจากนี้ มีการนำเสนอ E-นิทรรศการ : มรดกย่านและเมืองเก่าในประเทศไทย และการขับเคลื่อนภาครัฐ-ประชาชน ผ่านจอTV 75” ในรูปอิเล็คทรอนิก เกี่ยวกับ ย่านและเมืองเก่าในประเทศไทย ที่ภาครัฐ (สผ.) และภาคประชาชน (SCONTE - เครือข่ายย่านเมืองเก่า) กำลังดำเนินการ
.....

จัดโดย สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE)
...
ทั้งนี้ จากการที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเมือง จัดเทศกาล “พลเมือง•ร่วม•เปลี่ยนแปลง” ในปี 2564 - 2565 สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE) จึงได้ร่วมจัดสัมมนาเมืองเก่า “อัตลักษณ์ของเมือง" เพื่อผลักดันและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยใช้แนวทางการฟื้นฟูมรดกเมืองเก่าเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปิดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมรดก “อาคาร ย่าน เมืองเก่า” ในประเทศไทย ที่กำลังก้าวสู่การขยับปรับเปลี่ยน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และผลักดันนโยบายเพื่อลดผลกระทบจาก ความเจริญทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ โดยใช้แนวทางการอนุรักษ์ อาคาร ย่าน เมืองเก่า ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและการท่องเที่ยวได้อย่างไร
2. เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันโดยการจัดทำ Workshop (ประชุมเชิงปฏิบัติการ) สรุปประเด็นสำคัญที่ได้ เพื่อมอบต่อฝ่ายนโยบายของภาครัฐ และพรรคการเมือง 
3. เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการจัดเสวนาและ Workshop (ประชุมเชิงปฏิบัติการ) ร่วมในเทศกาล “พลเมือง•ร่วม•เปลี่ยนแปลง” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นิทรรศการและเสวนา "เล่าเรื่องผ่านเมืองเก่า"
28 มกราคม - 9 กุมภาพันธ์ 2563
ผนังโค้ง ชั้น 3-5  

สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เชิญชมนิทรรศการ "เล่าเรื่องผ่านเมืองเก่า (Tales Through Old Cities)"  ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการเผยแพร่โครงการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า

พบกับนิทรรศการ...
ยุทธศาสตร์ความสำคัญและแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า
(Heritage Towns Conservation and Development Principle Guidelines)

โครงการอนุรักษ์ตัวอย่างจากภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
(Asia - Pacific regional best practices from the UNESCO Heritage Awards)

นำเสนอเรื่องราวของเมืองเก่าผ่านมุมมองทีมที่ปรึกษา
(Proposed Schemes for The Cities)

ศิลปะ: ภาพเขียนบันทึกเมืองเก่า
(Art: Sketches of Old Cities)
.....

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนา เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ดังนี้

วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 เวลา 13.30 - 17.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯ

หัวข้อ: ทิศทางการพัฒนาเชิงอนุรักษ์เมืองเก่าจากแผนแม่บทสู่การปฏิบัติ
(Conservation and Development Schemes: Statement of Significance (SOS))
นำเสนอที่มาของโครงการ โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำเสนอข้อมูลในแต่ละเมือง โดยที่ปรึกษาโครงการ
ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ ดำเนินรายการ

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง Friend of BACC ชั้น 6 หอศิลปกรุงเทพฯ

เวลา 10.00 - 12.00 น.
หัวข้อ: Panel discussion on UNESCO's "Historic Urban Landscape Recommendation"
Dr. Matt Benson, Think City, Malaysia
(on case studies of living historic cities from Malaysia)
Dr. Banasophit Mekvichai
(on principles of eco-spatial planning (การวางแผนผังภูมินิเวศ) under the 20-year National Strategy)
Motira Unakul, UNESCO
(on the UNESCO Historic Urban Landscape recommendation)

เวลา 14.30 - 17.00 น.
หัวข้อ: อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอย่างยั่งยืน: เมืองท่องเที่ยว เมืองสร้างสรรค์ เมืองอัจฉริยะ เมืองอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม
(Conservation and Development: From Heritage to Sustainable City)
โดย คุณภราเดช พยัฆวิเชียร ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร และดร.สุดสันต์ สุทธิพิศาล
ดร.รสิตา สินเอกเอี่ยม ดำเนินรายการ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯ

เวลา 13.00 -14.30 น. 
หัวข้อ: Social Entrepreneurship and Historic Cities

เวลา 15.00 -17.30 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯ
หัวข้อ: การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงอนุรักษ์โดยชุมชนเมืองเก่าของไทย
(Community - based Conservation and Development of The Old Town in Thailand)
โดย คุณปกรณ์ รุจิระวิไล คุณยิ่งยศ แก้วมี คุณเชษฐา สุวรรณสา คุณจิตรลัดดา แสงน้อยอ่อน และคุณพงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์
ดร.สุดสันต์ สุทธิพิศาล ดำเนินรายการ

เทศกาล “พลเมืองร่วมเปลี่ยนแปลง”

1 ธันวาคม 2564 - 30 เมษายน 2565
ชั้น L – ชั้น 5, ลานด้านหน้า, มุมสามเหลี่ยม ชั้น 1 และห้อง 201,104
โดย เครือข่ายสิ่งเเวดล้อมเมือง

เทศกาล “พลเมืองร่วมเปลี่ยนแปลง” คือพื้นที่ (Platform) ในการนำเสนอชุดข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์จากกว่า 30 องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ “เมือง” และความพยายามที่จะทำให้เมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ และเป็นเวทีเพื่อให้เกิดการต่อยอดนำเสนอแนวทางส่งไปยังภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายและในเวลาเดียวกันเป็นการสร้างบทสนทนา การรับรู้ให้แก่สังคม

ประกอบไปด้วยนิทรรศการ เวทีเสวนา ตลาดนัดกสิกรรม และ workshop 

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมเมือง ที่ร่วมจัดเทศกาล “พลเมืองร่วมเปลี่ยนแปลง” ได้แก่
- หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
- สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งเเวดล้อม (SCONTE)
- สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA)
- สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สมาคมอิโคโมสไทย
- Docomomo Thai
- เครือข่ายอากาศสะอาด 
- กลุ่ม We Park
- ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม
- ชุมชนพูนสุข Farm Sharing Market
- เครือข่ายเมืองเก่า ย่านเก่า ชุมชน
- กลุ่ม Urban Studies Lab
- สมาคมเครือข่ายต้นไม้ในเมือง
- สมาคมรักษ์ต้นไม้ใหญ่
- สมาคมรุกขกรรมไทย
- กลุ่มยังธน
- กลุ่ม Urban Ally
- กลุ่มบึงรับน้ำ
- P landscape Co.
- สถาบันการศึกษา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ศิลปากร สถาบันพระจอมเกล้าฯธนบุรี อาศรมศิลป์ โรงเรียนรุ่งอรุณ ฯลฯ
- สื่อสาธารณะไทยพีบีเอส





Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้